มิยาเกะ (โตเกียว)
หน้าตา
มิยาเกะ 三宅村 | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
ที่ตั้งของหมู้บ้านมิยาเกะ | |
พิกัด: 34°4′32.8″N 139°28′46.8″E / 34.075778°N 139.479667°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | นครโตเกียว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 55.27 ตร.กม. (21.34 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มิถุนายน พ.ศ. 2559) | |
• ทั้งหมด | 2,451 คน |
• ความหนาแน่น | 44.3 คน/ตร.กม. (115 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสไปรษณ๊ย์ | 100-1211 |
- ต้นไม้ | สกุลก่อหนาม (Castanopsis) |
- ดอกไม้ | ไฮเดรนเยีย (Hydrangea macrophylla) |
- นก | นกเดินดง (Izu thrush) |
โทรศัพท์ | 04994-5-0981 |
ที่ตั้งสาขาศาลาว่าการกรุงโตเกียว | Tsuboi 1774, Miyake-mura, Tokyo 100-1211 |
เว็บไซต์ | www |
มิยาเกะ (ญี่ปุ่น: 三宅村; โรมาจิ: Miyake-mura) เป็นหมู่บ้านในกิ่งจังหวัดมิยาเกะ ภายใต้การปกครองของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งเกาะมิยาเกะ
ประวัติ
[แก้]ลำดับของเหตุการณ์มีดังนี้[1]
- พ.ศ. 2419 (เมจิ 9) - เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชิซูโอกะ
- พ.ศ. 2421 (เมจิ 11) - โอนไปสังกัดจังหวัดโตเกียว
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ไทโช 12) - ประกาศใช้ระบบเมืองและหมู่บ้านบนเกาะ สำนักงานสาขาที่มีอำนาจเหนือเกาะมิยาเกะและเกาะโอโนะฮาระ กลายเป็นสำนักงานรัฐบาลเกาะโอชิมะ (ต่อมาคือสำนักงานสาขาโอชิมะ ) และ หมู่บ้านทั้ง 5 แห่งคือ หมู่บ้านอิสุ หมู่บ้านคามิตสึกิ หมู่บ้านอิกายะ หมู่บ้านอาโกะ และหมู่บ้านสึโบตะ ได้ก่อตั้งขึ้น
- พ.ศ. 2483 (โชวะ 15) ภูเขาไฟบนเกาะมิยาเกะปะทุครั้งใหญ่
- 1 เมษายน พ.ศ. 2486 (โชวะ 18) - แยกจากสำนักงานสาขาโอชิมะและกลายเป็นสำนักงานสาขามิยาเกะ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 (โชวะ 21) - หมู่บ้านอิซุ หมู่บ้านคามิตสึกิ และหมู่บ้านอิกายะ รวมกันเป็นหมู่บ้านมิยาเกะ
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (โชวะ 31) - หมู่บ้านมิยาเกะ หมู่บ้านอาโกะ และหมู่บ้านสึโบตะ รวมกันเป็นหมู่บ้านมิยาเกะแห่งใหม่
- พ.ศ. 2505 (โชวะ 37) - ภูเขาไฟโอยามะปะทุครั้งใหญ่
- พ.ศ. 2509 (โชวะ 41) - ท่าอากาศยานมิยาเกะจิมะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (โชวะ 44) - ประกาศใช้ตราประจำเมือง[2]
- พ.ศ. 2526 (โชวะ 58) - ภูเขาไฟฟุทาโอยามะ ชินมิโออิเคะ และชินบานะ ปะทุ
- พ.ศ. 2532 (เฮเซ 1) - หมู่บ้านมิยาเกะประกาศเป็นเขตสันติภาพปลอดอาวุธนิวเคลียร์[3]
- พ.ศ. 2536 (เฮเซ 5) - อาคารสำนักงานหมู่บ้านมิยาเกะ สร้างเสร็จ
- พ.ศ. 2543 (เฮเซ 12) - ภูเขาไฟโอยามะปะทุขึ้น ผู้อยู่อาศัยทั้งหมดถูกอพยพออกจากเกาะ[4]
- พ.ศ. 2548 (เฮเซ 17) - คำสั่งอพยพถูกยกเลิก ผู้อยู่อาศัยเริ่มกลับมา
- พ.ศ. 2553 (เฮเซ 22) - พิธีรำลึกครบรอบ 5 ปีการกลับสู่เกาะ มีการวางเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงทั่วทั้งเกาะ
- พ.ศ. 2556 (เฮเซ 25) - อาคารที่ทำการใหม่ของสำนักงานสาขามิยาเกะของศาลาว่าการกรุงโตเกียว สร้างแล้วเสร็จ
- พ.ศ. 2558 (เฮเซ 27) - พิธีรำลึกครบรอบ 10 ปีของการกลับสู่เกาะ กฎบัตรของหมู่บ้านมิยาเกะถูกตราขึ้น[5] และมีการประกาศใช้กฎระเบียบของพื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมดบนเกาะ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 村勢要覧資料集「わが村・わが歴史」 (PDF). 三宅村. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2017.
- ↑ 図典 日本の市町村章. 小学館. 15 ธันวาคม 2006. p. 90. ISBN 978-4-09-526311-3.
- ↑ 三宅島非核平和宣言. 三宅村. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2017.
- ↑ 三宅島 2000(平成12)年6月~噴火. 気象庁. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2017.
- ↑ 三宅村村民憲章 (PDF). 三宅村. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2017.
- ↑ 沖ヶ平地区の規制解除 (PDF). 広報みやけ547号. 1 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มิยาเกะ (โตเกียว)
- Miyake Village เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ มิยาเกะ (โตเกียว) ที่โอเพินสตรีตแมป